วันจันทร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2552

เหตุการณ์ในวันนี้

วันนี้รู้สึกสบายดี ได้ฟังเพลง หัวก้อย ของสิงโตเพราะมาก ได้ไปสวดมนต์สรภัญญะที่ห้อง ม.1 เล่นกันไม่ได้สวดมนต์เลย

วันอังคารที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2552

ความรู้เรื่องการปลูกพืช

ป่าไม้

ป่าไม้เป็นทรัพยากรธรรมชาติ ที่มีความสำคัญยิ่ง ต่อสิ่งมีชีวิตทั้งมนุษย์ สัตว์อื่นๆ เนื่องจาก ป่าไม้ เป็นแหล่ง วัตถุดิบ ของปัจจัย 4 คือ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และ ยารักษาโรค และ ยังมีประโยชน์ ในการรักษาสมดุล ของสิ่งแวดล้อม อีกด้วย ดังนั้น เราทุกคนจึงควร ช่วยกันดูแลรักษา อนุรักษ์ป่าไม้ เอาไว้ เพื่อลูกหลานเรา ในอนาตค ติดตาม ความหลากหลาย ประเภท ประโยชน์ และ สาเหตุการลดลง ของป่าไม้

1.ความหลากหลายของป่าไม้....ป่าไม้หมายถึง สังคม ของสิ่งมีชีวิต ที่เป็นพืช ซึ่งขึ้นอยู่บนพื้นดิน ที่มีความอุดมสมบูรณ์ พอเพียงแก่การ เจริญเติบโต ของพืชเหล่านั้น โดยปกติป่าไม้ หมายถึง สังคมของ ต้นไม้ขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นประโยชน์ ต่อเศรษฐกิจ ของคน มากกว่าที่จะหมายถึง พืชเล็กๆ ชนิดอื่นๆ อย่างไรก็ดี พืชเล็กๆ ชนิดต่างๆ ก็มีความสำคัญ ไม่แพ้ต้นไม้ที่มี ขนาดใหญ่กว่า แต่อย่างใด ความหมายที่กว้างๆ ของป่าไม้ จึงครอบคลุม ถึงพืชทุกชนิด ที่ขึ้นอยู่บนพื้นดินด้วย เช่น แม่น้ำ ภูเขา ซากพืช ซากสัตว์ ที่เน่าเปื่อย ทับถมกัน อยู่ในพื้นดิน นั้น

2.ประเภทของป่าไม้ ในประเทศไทย.... ประเภทของป่าไม้ จะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับ สภาพภูมิอากาศ ภูมิประเทศ การกระจาย ของฝน ระยะเวลา ที่ฝนตก รวมทั้ง ปริมาณน้ำฝน ทำให้ป่าแต่ละแห่ง มีความชุ่มชื้น ต่างกัน สามารถจำแนกได้ 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
2.1 ป่าไม้ที่ไม่ผลัดใบ.... ป่าประเภทนี้ มองดูเขียวชอุ่ม ตลอดปี เนื่องจาก ต้นไม้แทบทั้งหมด ที่ขึ้นอยู่ เป็นประเภท ที่ไม่ผลัดใบ ป่าชนิดสำคัญ ซึ่งจัดอยู่ในประเภทนี้ ได้แก่ ป่าดงดิบ (ป่าดิบชื้น ป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง) ป่าสนเขา ป่าชายเลน ป่าพรุ หรือป่าบึงน้ำจืด และ ป่าชายหาด เป็นต้น
2.2 ป่าประเภทที่ผลัดใบ... ป่าประเภทนี้ เป็นจำพวก ผลัดใบ แทบทั้งสิ้น ในฤดูฝน ป่าประเภทนี้ มองดูเขียวชอุ่ม พอถึงฤดูแล้ง ต้นไม้ส่วนใหญ่ จะพากันผลัดใบ ทำให้ป่า มองดูโปร่งขึ้น และ มักจะเกิดไฟป่า ในฤดูแล้งเสมอ ป่าชนิดสำคัญ ซึ่งอยู่ในประเภทนี้ ได้แก่ ป่าเบญจพรรณ (สังเกตง่ายๆ ป่าชนิดนี้ จะมีไม้ไผ่ ชนิดต่างๆ ขึ้นอยู่ กระจัดกระจาย ทั่วไป) ป่าเต็งรัง (สังเกต จะพบไม้เต็ง ไม้รัง เป็นส่วนใหญ่) ป่าหญ้า เป็นต้น

3.ประโยชน์ของทรัพยากรป่าไม้.... ป่าไม้ มีประโยชน์ มากมาย ต่อการ ดำรงชีวิต ของมนุษย์ ทั้งทางตรง และ ทางอ้อม

3.1 ประโยชน์ทางตรง เช่น การนำไม้ มาสร้างบ้าน และใช้ทำ ผลิตภัณฑ์ ต่างๆ (กระดาษ เฟอร์นิเจอร์) การนำส่วนต่างๆ ของพืช มาเป็นอาหาร (ผล ใบ ราก) การนำไม้ บางชนิดมาสกัด หรือ ทำยารักษาโรคต่างๆ นอกจากนี้ ยังนำไม้มา เป็นวัตถุดิบ ในการทำเชือก (เถาวัลย์) เป็นต้น
3.2 ประโยชน์ทางอ้อม เช่น ป่าไม้เป็น แหล่งกำเนิด ต้นน้ำ ลำธาร ช่วยให้ ฝนตก ต้องตามฤดูกาล ป่าไม้ ทำให้เกิด ความชุ่มชื้น และ ควบคุม สภาวะอากาศ ป่าไม้ เป็นแหล่งพักผ่อน และ ศึกษาหาความรู้ ป่าไม้ ช่วยบรรเทา ความรุนแรง ของลมพายุ และ ป้องกัน อุทกภัย นอกจากนี้ ป่าไม้ ยังช่วยป้องกัน การกัดเซาะ และ พัดพา หน้าดิน ด้ว

4.สาเหตุการลดลงของป่าไม้

4.1 การลักลอบตัดไม้ทำลายป่า
4.2 การบุกรุก พื้นที่ป่าไม้ เพื่อเข้าครอบครองที่ดิน
4.3 การกำหนดแนวเขต พื้นที่ป่า กระทำไม่ชัดเจน หรือ ไม่กระทำเลย ในหลายๆ พื้นที่ ทำให้ ชาวบ้าน ไม่ทราบ เขตพื้นที่ใด เป็นเขตป่าไม้ จึงมีการบุกรุก เข้าพื้นที่ ป่าไม้
4.4 การสร้าง สาธารณูปโภค ของรัฐ เช่น ถนน เขื่อน เป็นต้น ทำให้มีการ ถางป่า เพื่อ ทำการ ก่อสร้าง
4.5 ไฟไหม้ป่าและพายุ ซึ่งเป็นภัยธรรมชาติ

ความรู้เรื่องการปลูกพืช

พืชไร่


พืชไร่ หมายถึง พืชที่ปลูกโดยใช้เนื้อที่มากๆ มีการเจริญเติบโตเร็วไม่ต้องการการดูแลรักษามากเหมือนพืชสวน ส่วนใหญ่เป็นพืชล้มลุก มีอายุตั้งแต่ 2เดือน ถึง 1ปี หรือมากกว่า ผลผลิตของพืชไร่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจและชีวิตประจำวันของคนไทยโดยใช้บริโภคเป็นอาหารหลักและส่งเป็นสินค้าออก จัดเป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งสามารถนำรายได้เข้าประเทศเป็นจำนวนมาก เช่น ข้าว ข้าวโพด อ้อย ถั่วต่าง ๆ ยาสูบ ฝ้าย มันสำปะหลัง เป็นต้น พืชไร่ที่ปลูกในประเทศไทยสามารถจัดแยกเป็นกลุ่มตามลักษณะการนำไปใช้ประโยชน์ได้ ดังนี้
- ธัญพืช หมายถึง พืชล้มลุกชนิดต่าง ๆ ที่ปลูกเพื่อนำเมล็ดมาเป็นอาหารของคนและสัตว์ เช่น ข้าว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ข่าวสาลี เป็นต้น
- ถั่ว หมายถึง พืชตระกูลถั่วที่ให้เมล็ดเป็นอาหาร เช่น ถั่วเขียว ถั่วลิสง ถั่วเหลือง เป็นต้น
- พืชอาหารสัตว์ หมายถึง พืชที่ใช้กิ่ง ใบ ลำต้น เป็นอาหารแก่สัตว์เลี้ยงอาหารจะให้ในรูปพืชสด พืชแห้ง หรือพืชหมักก็ได้ เช่น พืชตระกูลถั่ว หญ้า ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าวฟ่าง เป็นต้น
- พืชเส้นใย หมายถึง พืชที่ให้เส้นใยมาใช้ทำประโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางอุตสาหกรรมสิ่งทอ เช่น ฝ้าย ปอ ป่าน เป็นต้น
- พืชให้น้ำตาล หมายถึง พืชที่สามารถนำส่วนใดส่วนหนึ่ง มาผลิตน้ำตาลได้ เช่น อ้อย ชูก้าบีท เป็นต้น
- พืชน้ำมัน หมายถึง พืชที่ให้ผลผลิตซึ่งสามารถนำไปแปรรูป เป็นน้ำมัน นำมาใช้ประโยชน์ได้ เช่น ถั่วเหลือง ละหุ่ง ทานตะวัน งา เป็นต้น
- พืชให้น้ำยาง หมายถึง พืชที่ปลูกแล้วให้น้ำยางเพื่อใช้ประโยชน์ เช่น ยางพารา สน เป็นต้น
- พืชที่ใช้เป็นยา หมายถึง พืชสมุนไพรชนิดต่าง ๆ ที่มีคุณสมบัติเป็นยารักษาโรค เช่น ยูคาลิปตัส กานพลู ชะเอม เป็นต้น
- พืชเครื่องเทศ หมายถึง พืชที่มีคุณสมบัติในการปรุงแต่งกลิ่นอาหาร เช่น พริกไทย กระเทียม เมล็ดผักชี เป็นต้น
- พืชให้สี หมายถึง พืชที่มีคุณสมบัติให้สีเพื่อทำสีย้อม เช่น มะเกลือ ขมิ้น อัญชัน เป็นต้น
- พืชหัว หมายถึง พืชที่มีลำต้นใต้ดินทำหน้าที่สะสมอาหาร เรียกว่าหัว นำมาเป็นอาหาร เช่น มันฝรั่ง กลอย สาคู เป็นต้น
- พืชที่ใช้รากเป็นประโยชน์ หมายถึง พืชที่รากสะสมอาหาร นำมาใช้ประโยชน์ได้ เช่น มันเทศ มันสำปะหลัง มันแกว หัวผักกาด เป็นต้น
- พืชประเภทกระตุ้นประสาท หมายถึง พืชที่มีคุณสมบัติช่วยกระตุ้นระบบประสาท ถ้าใช้กินดื่มมาก ๆ ติดต่อกันเป็นเวลานานอาจทำให้ติดได้ เช่น กาแฟ ชา ยาสูบ เป็นต้น

(การศึกษาเรื่องพืช ไม่ว่าจะเป็นพืชไร่หรือพืชสวน จะต้องศึกษาเรื่องเกี่ยวกับดินและปุ๋ย การขยายพันธุ์พืช ศัตรูพืชต่าง ๆ ควบคู่ไปด้วย เพื่อสามารถปลูกพืชดูแลรักษาพืชได้ เราเรียกวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับพืชเหล่านี้ว่า พืชศาสตร์ )

ความรู้เรื่องการปลูกพืช

พืชสวน


พืชสวน หมายถึง พืชที่ปลูกโดยใช้พื้นที่น้อย สามารถให้ผลตอบแทนสูง ต้องการการดูแลรักษามาก แบ่งได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ

- ไม้ดอกไม้ประดับ เป็นพืชที่มีดอก ใบ สวยงาม นิยมปลูกไว้เพื่อประดับตกแต่งอาคารสถานที่ให้สวยงามน่าชม เช่น กล้วยไม้ เฟื่องฟ้า กุหลาบ พลูด่าง เป็นต้น

- พืชผัก เป็นพืชที่ปลูกเพื่อให้ราก ใบ ลำต้น ดอก ผล เป็นอาหาร ส่วนมากจะมีอายุสั้น เช่น ผักกวางตุ้ง ผักคะน้า ต้นหอม มะเขือ พริก โหระพา กระเทียม เป็นต้น

- ไม้ผล ส่วนมากเป็นไม้ยืนต้น ปลูกพืชใช้ผลเป็นอาหาร เช่น กล้วย ส้ม ฝรั่ง มะละกอ เป็นต้น

วันจันทร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2552

อาหารที่ชอบ

แกงเขียวหวาน

เหตุการณ์ในวันนี้

มีความสุขดีhappy